ไม้ ถือเป็นวัสดุยอดนิยมที่ใครหลายๆคนชอบนำมาตกแต่งบ้าน ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน หรือในคอนโดมิเนียม เพราะว่าไม้มีลวดลายที่สวยงาม อีกทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่น มีผิวสัมผัสที่แตกต่างจากวัสดุประเภทอื่นๆ สามารถให้ความเป็นธรรมชาติภายในบ้าน และสามารถเข้ากันได้กับบ้านหลายสไตล์ แต่หากจะเลือกใช้ไม้จริง ก็คงจะสู้ราคาไม่ไหวเพราะไม้จริงนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ในปัจจุบันมีวัสดุเกิดขึ้นใหม่มามากมาย เพื่อรองรับความต้องการของผู้ซื้อที่มีปัจจัยแตกต่างกันและทดแทนกันได้ ทำออกมาให้ราคาที่เข้าถึงง่าย แต่ยังให้ความสวยงาม ผิวสัมผัสคล้ายกับไม้จริง เป็นที่มาของไม้อัดที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งในข้อดีทั้งด้านราคาและการนำไปใช้นั้น ก็ยังมีข้อจำกัด ทำให้มีผู้คิดค้นวัสดุทดแทนใหม่ๆ หนึ่งในนั้นคือ ไม้ HMR ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีจากคุณสมบัติในด้านต่างๆ ปัจจุบันไม้ HMR มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก หนึ่งในนั้นคือไม้ HMR จาก Agro Fiber ที่สามารถตอบโจทย์ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักไม้ HMR จาก Agro Fiber นี้กันค่ะ
ไม้ HMR คือวัสดุอะไร
ไม้ HMR หรือแผ่นไม้อัดทนความชื้น (HMR – High Moisture Resistance Board) จัดเป็นไม้อัดอีกประเภทหนึ่งที่เกิดจากการได้รับการพัฒนาคุณสมบัติในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ มีคุณสมบัติในการทนความชื้นได้ดี จึงนำไปใช้งานในบริเวณที่มีความชื้นสูงได้ เนื้อไม้มีความหนาแน่นในระดับที่พอดีสามารถนำไปใช้ในการตกแต่งในรูปแบบที่หลากหลาย
ไม้ HMR หรือแผ่นไม้อัดทนความชื้น มีแนวคิดในการพัฒนามาจากความการต้องการให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ต้องการใช้แผ่นไม้อัด ได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีตัวเลือกสินค้าที่แตกต่างในด้านการใช้งาน จึงเป็นที่มาให้ บริษัท อะโกรไฟเบอร์ ได้พัฒนาไม้สูตรทนความชื้น และเป็นผู้ผลิตรายแรกๆ ที่ทำตลาดไม้อัดประเภท HMR ในประเทศไทย โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี 2559 ด้วยแนวคิดที่ต้องการยกระดับของผลิตภัณฑ์ไม้อัดของไทยในปัจจุบัน สร้างมาตรฐานการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นดีกว่าไม้ MDF แบบเดิมในทุกๆด้าน โดยมีขั้นตอนการผลิตดังนี้
ขั้นตอนการผลิตไม้ HMR
- เลือกใช้ไม้ยูคาลิปตัสคุณภาพดี มาสับและบดจนเป็นเส้นใยละเอียด
- ทำการอัดประสานด้วยกาวเมลามีนยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ชนิดพิเศษเพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ภายในใต้ความร้อนสูงกว่า 200 องศา
ด้วยขั้นตอนการผลิตไม้ HMR ที่เป็นสูตรเฉพาะของอะโกรไฟเบอร์ ทำให้ไม้ HMR ไม่อ่อนหรือแข็งจนเกินไป สามารถรับน้ำหนักได้ดี เมื่อเทียบกับวัสดุไฟเบอร์บอร์ดประเภทอื่นๆทั่วไป
ขนาดและน้ำหนักของไม้ HMR มีให้เลือกใช้ได้หลากหลาย มีความหนาให้เลือกตามการใช้งานตั้งแต่ 2.6 – 25 mm. ขนาดมาตรฐาน 1230 * 2450 mm.
- มีความแข็งแรงสูง ตอกยึดได้ดี ใช้ในงานตกแต่ง Built-in ภายในทุกประเภท
- สามารถทนความชื้น ใช้งานในบริเวณที่มีความชื้นสูงได้ดี ทนชื้น ไม่มีบวม ระยะการใช้งานนานขึ้น ผ่านการทดสอบความทนชื้นมาตรฐานยุโรป V313
- มีผิวหน้าเรียบเนียนสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ช่วยให้ทำสีง่าย สวยงาม
- เนื้อในเนียนแน่น ละเอียด แข็งแรงไม่มีรูพรุน ทำให้ตัดแต่งง่าย และสามารถยึดสกรูได้ดี หน้าบานไม่ตก
- สามารถใช้กับชิ้นงาน CNC Router ได้อย่างสวยคม ทำได้ทั้ง Built-in ทำสี CNC ฉลุลาย หรือเซาะร่อง
** ข้อควรระวังในการใช้งาน : สามารถทนความชื้นได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ไม้ในบริเวณที่แช่น้ำหรือสัมผัสน้ำโดยตรง และไม่สามารถใช้แบบเปลือยได้ ควรจบงานด้วยการทำสีหรือปิดผิวก่อนเสมอ
หลายคนอาจสงสัยว่าจริงๆแล้ว ไม้ HMR และไม้อัดทั่วไป นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วการนำไปใช้งานต่างกันแค่ไหน จริงๆไม้ HMR นั้นเป็นไม้ที่ถูกพัฒนาคิดค้นมาเพื่อเป็นวัสดุทดแทน วัสดุทางเลือกที่มีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างหลากหลาย
การผลิต – ขั้นตอนการผลิตไม้อัดจะเกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวก็ได้ โดยใช้การผ่าไม้ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึด แล้วอบที่อุณหภูมิ 140 องศา มีลายไม้สวยงาม ความหนาและราคาหลากหลายขนาด คุณภาพความแข็งแรงขึ้นอยู่กับเกรดของแผ่นไม้อัด ส่วนการผลิตไม้ HMR จะใช้ไม้ยูคาลิปตัส มาสับและบดจนเป็นเส้นใยละเอียด เพิ่มปริมาณเยื่อไม้ให้มีความหนาขึ้น และอัดประสานด้วยกาวเมลามีนยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ชนิดพิเศษในความร้อนสูงกว่า 200 องศา จึงทำให้มีคุณสมบัติที่แข็งแรงมากขึ้น
คุณสมบัติ – ไม้ HMR มีคุณสมบัติที่สามารถทนความชื้นได้ จึงสามารถติดตั้งใช้ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงได้ เช่น ในพื้นที่ห้องน้ำส่วนแห้ง ส่วนครัว เป็นต้น และยังมีพื้นผิวเรียบทั้งแผ่น มีความหนาตั้งแต่ 4-25 mm. ส่วนไม่อัดทั่วไปจะมีความหนาที่ 3-20 mm. ให้เลือกใช้งาน นอกจากนี้ไม้ HMR จะมีเนื้อในแน่นทำให้เหมาะกับการตกแต่งที่ต้องตัดแต่งลาย เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องแตกหรือบิ่นตามขอบของลวดลาย สามารถตัดได้เรียบเนียน ทำงานฉลุที่มีรายละเอียดได้ดี ใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น
ไม้ HMR สามารถนำไปใช้งานประเภทไหนได้บ้าง
งานเฟอร์นิเจอร์ Built-in ภายใน
พื้นที่ใช้สอยต่างๆภายในบ้าน จะเป็นการบอกถึงความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้เป็นอย่างดี เฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in เช่น เคาน์เตอร์ ชั้นวางของ และตู้ต่างๆ จึงเข้ามามีบทบาทในการตกแต่งห้อง ช่วยทำให้มีความต่อเนื่องของฟังก์ชันในการใช้งาน ทำให้สูญเสียพื้นที่ว่างเปล่าน้อยลง และช่วยทำให้ห้องดูกว้างขึ้น เดินไปมาได้สะดวกและดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in ที่นิยมทำกันมากส่วนมากจะเป็นตู้หรือชั้นวางของติดผนังแนวตั้ง นอกจากจะสวยงามแล้วยังใช้ประโยชน์ได้มากมาย การแต่งบ้านในแนวตั้งลักษณะนี้อาจจะเป็นชั้นวางแบบเปลือย ชั้นวางแบบมีลิ้นชัก มีหน้าบานแบบเก๋ๆตามโทนสีความชอบตามแนวของแต่ละคน ประโยชน์ที่ได้จากชั้นวางของขนาดสูงแบบนี้จะมีพื้นที่ให้เราได้เก็บสมบัติอย่างเหลือเฟือแล้ว ความสูงแบบต้องเงยหน้าขึ้นไปมองยังช่วยให้บ้านดูหรูหรามากขึ้น ดูมีลูกเล่น และก็มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นไปด้วย ส่วนวัสดุที่ได้รับความนิยมในงาน เฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in ส่วนมากจะเป็นงานไม้เป็นส่วนใหญ่ ไม้ HMR จึงสามารถนำมาใช้ในการประกอบเฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความแข็งแรงสูง ตอกยึดได้ดี ใช้ในงานตกแต่ง Built-in ภายในได้ทุกประเภท อีกทั้งมีผิวสัมผัสและผิวหน้าเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ช่วยให้ทำสีง่ายได้ตามความต้องการ
ชุดครัวและเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องครัว
ชุดครัว Built-in หรือชุดครัวที่ประกอบในพื้นที่หน้างาน คือการติดตั้งตู้เคาน์เตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้วางเข้ากับพื้นที่ภายในครัวได้อย่างลงตัวพอดี เนื่องจากพื้นที่ครัวแต่ละบ้าน แต่ละห้องมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องวางแผนก่อนการติดตั้งให้ดี วัดขนาดและดีไซน์การจัดวางพื้นที่ก่อนที่จะสั่งซื้อหรือสั่งทำเคาน์เตอร์แบบ Built-in โดยแต่ละส่วนของ ชุดครัว Built-in จะถูกออกแบบมาให้สัมพันธ์กับการใช้งานภายในครัว เช่น เคาน์เตอร์ครัวสำหรับจัดเตรียมอาหาร ตู้เก็บของ และชั้นวางของต่างๆ ไว้สำหรับเก็บพวกจานชาม แก้ว อุปกรณ์ทำครัว วัสดุที่นำมาทำเคาน์เตอร์ครัวก็มีให้เลือกหลากหลาย แต่ละแบบก็จะมีราคาแตกต่างกันออกไป เราสามารถเลือกได้ตามความชอบและงบประมาณ วัสดุประเภทไม้ถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมทั้งความสวยงามและผิวสัมผัส แต่ที่สำคัญคือต้องเหมาะกับการใช้งานในส่วนครัว ซึ่งไม้ HMR สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดี เพราะมีคุณสมบัติทนความชื้น ไม่เกิดการบวม โก่งงอ หรือแตกยุ่ยตามขอบบานได้ง่าย และสามารถใช้ทำเป็นหน้าบานของชุดตู้ภายในครัวได้ด้วยเพราะมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ผิวเรียบเนียนสามารถทำสีได้ตามที่ต้องการ
ห้องน้ำส่วนแห้ง
หากพูดถึงการใช้งานภายในห้องน้ำ เราสามารถแบ่งโซนการใช้งานของห้องน้ำออกเป็น 2 โซนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่ส่วนแห้ง และ พื้นที่ส่วนเปียก ทำให้พื้นที่ 2 โซนนี้มีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน “พื้นที่ส่วนเปียก” คือพื้นที่ส่วนสำหรับอาบน้ำ บริเวณนี้จะต้องโดนน้ำ และความชื้นอยู่เสมอ ในการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่จะติดตั้งในพื้นที่นี่จะต้องสามารถทนน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี ปูพื้นด้วยกระเบื้องชนิดต่างๆ อุปกรณ์ในการอาบน้ำเป็นสแตนเลส สายยางหรือพลาสติก ที่ไม่ขึ้นสนิม ชั้นวางต่างๆเป็นกระเบื้องหรือเซรามิค เป็นต้น
ส่วน “พื้นที่ส่วนแห้ง” จะเป็นบริเวณที่ไม่โดนน้ำ หรืออาจโดนเป็นครั้งคราวจากการทำความสะอาด ไม่ใช่พื้นที่ที่ต้องเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลา บริเวณนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับตั้งชุดสุขภัณฑ์ ทั้งอ่างล้างหน้า โถสุขภัณฑ์ ชุดตู้ใต้อ่างล้างหน้า ซึ่งส่วนมากจะเป็นชุดตู้แบบ Built-in สำหรับเก็บของใช้ต่างๆภายในห้องน้ำ ส่วนมากจะเป็นตู้ไม้ Built-in มีทั้งที่ทำแบบเป็นชั้นวางของ หรือชุดตู้เก็บของมีหน้าบานปิดมาให้เรียบร้อย เราสามารถเลือกใช้ไม้ HMR ในการประกอบตัวตู้ได้เช่นกัน เพราะมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับนำมาใช้ทำชั้นวางของในห้องน้ำ หรือใช้ทำเป็นบานตู้ที่ติดตั้งบริเวณใต้อ่างล้างหน้า เนื่องจากไม้ HMR สามารถใช้ในบริเวณที่มีความชื้นสูงเช่นห้องน้ำได้ สามารถเจาะเซาะร่อง เพื่อทำลวดลายต่างๆ และทำสีได้ตามความต้องการและดีไซน์ได้หลายรูปแบบ
สำหรับงาน Built-in ภายใน เคาน์เตอร์และตู้ต่างๆ
- ควรติดตั้งบานตู้ให้สูงจากพื้นประมาณ 5-10 cm. เพื่อความสะดวกในการทำควาสะอาด และลดการสัมผัสโดนน้ำจากไม้ถูพื้น
- ควรออกแบบให้ Top เคาน์เตอร์ ที่ยื่นออกมาประมาณ 3-5 cm. เพื่อกันน้ำไหล หรือกระเด็นมาโดนบานตู้
- ควรเลือกใช้ไม้ HMR ให้มีความเหมาะสมตามการใช้งาน โดยเจาะ Screw ที่ผิวบอร์ดต้องห่างจากมุมบอร์ดไม่น้อยกว่า 25 mm. ที่ขอบบอร์ดต้องห่างจากมุมบอร์ดไม่น้อยกว่า 70 mm.
- ไม่ควรขัน Screw ให้แน่นเกินไปเพราะจะทำให้การยึดของ Screw ต่ำลง
งานฝ้าเพดานภายใน การดรอปฝ้าเพดาน
นอกจากงานเฟอร์นิเจอร์และงาน Built-in ในส่วนต่างๆของบ้านแล้ว ฝ้าเพดานก็เป็นตำแหน่งสำคัญที่สามารถใช้ไม้ HMR ไปใช้เป็นฝ้าเพดานได้ด้วยเช่นกัน ในบ้านทั่วไปมักจะเป็นฝ้าเรียบทาสีเจาะช่องเพื่อฝังดวงโคมไฟ แต่ถ้าต้องการสร้างมิติให้กับห้องภายในบ้าน การดรอปฝ้าเพดานถือเป็นตกแต่งฝ้าเพดานให้สวยงามอย่างหนึ่ง สามารถฉลุลายเพื่อใช้เป็นฝ้าตกแต่ง ใช้เป็นการแบ่งโซนการใช้งานในห้องนั้นๆได้อีกด้วย เราสามารถซ่อนดวงโคมไฟไว้บริเวณที่ดรอปฝ้า เพื่อควบคุมแสงสว่างภายในห้องสร้างแสง Indirect Light ได้แสงสว่างที่นุ่มนวลสบายตามากขึ้น
สำหรับงานฝ้าเพดานจะมีคำแนะนำในการใช้ไม้ HMR ไปใช้งาน ดังนี้
- ควรตรวจสอบระบบโคร่งคร่าวก่อนการออกแบบ และเว้นระยะของเพื่อติดตั้งกับโครงคร่าว
- กรณีฝ้าเพดานแบบห้อยจากท้องพื้นด้านบนด้วยสลิง ควรตรวจสอบเรื่องน้ำหนักของแผ่น และเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม ตรวจสอบตำแหน่งที่ยึดแผ่นเพื่อให้สามารถติดตั้งในระนาบที่ต้องการ
ผนังตกแต่งภายใน
งานตกแต่งผนังภายใน จัดเป็นงานตกแต่งที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศภายในบ้านได้เช่นกัน เราสามารถออกแบบผนังตกแต่งจากไม้ HMR ทั้งที่เป็นผนังเรียบ และมีลวดลายต่างๆ หรือสามารถฉลุลาย แบบนูนต่ำได้ ด้วยเครื่อง CNC (Computer Numerical Control) เพื่อให้มีมิติในเนื้อไม้มากขึ้น เพราะไม้ HMR จะมีความหนาแน่น จากการยึดเกาะของกาวชนิดพิเศษมากกว่าไม้อัดทั่วไป จึงสามารถตัดและเซาะแผ่นไม้เพื่อทำผนังเซาะร่อง 3D งานผนังฉลุลายต่างๆได้ง่าย งานที่ได้ออกมามีความสวยคมจากรอยตัดที่เรียบเนียน ไม่แตกหรือบิ่นตามขอบของลวดลาย
สำหรับงานผนังตกแต่ง เซาะร่อง งานฉลุลาย มีคำแนะนำในการใช้ไม้ HMR ไปใช้งาน ดังนี้
- ออกแบบให้ลวดลายที่ถูกฉลุออกไปนั้น มีสัดส่วนน้อยกว่า 50% เพื่อให้เนื้อไม้ที่เหลือยังคงความแข็งแรงอยู่
- การฉลุลายควรออกแบบให้ลวดลายที่ถูกฉลุมีหน้ากว้างไม่น้อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ไม้หักง่าย เมื่อมีการกระแทก
- ในการเซาะร่อง ควรเซาะไม่ลึกจนเกินครึ่งของความหนาไม้ เพื่อความแข็งแรง
ตัวอย่างงานติดตั้งไม้ HMR ปิดวอลเปเปอร์
ตัวอย่างงานทำสีไม้ HMR ฉลุลาย
ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานได้จริง
สถาปนิกและผู้ออกแบบ
- สามารถออกแบบและดีไซน์งานไม้ที่มีความหลากหลาย ลดข้อจำกัดจากไม้อัดทั่วไป
- จากคุณสมบัติทนความชื้น แข็งแรงทนทาน มีความหนาให้เลือกหลากหลาย ช่วยให้สามารถออกแบบงาน Built-in ในบริเวณที่มีความชื้นสูงได้มากขึ้น
- ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้ยาวนานจากคุณสมบัติที่แข็งแรงของเนื้อไม้
ผู้รับเหมาและผู้ติดตั้ง
- ช่วยให้งานของช่างไม้และผู้รับเหมาง่ายขึ้น
- ใช้เวลาในการติดตั้งน้อยลง ไม่ว่าจะเฟอร์นิเจอร์ หรืองานโครงสร้าง
เจ้าของบ้าน / ลูกค้า
- ได้งานเฟอร์นิเจอร์ Built-in และตกแต่งภายในที่มีคุณภาพ เหมาะกับการใช้งานในส่วนต่างๆ
- อายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ Built-in และงานตกแต่งภายใน ยาวนานขึ้นจากคุณสมบัติของไม้ HMR
- ไม้ HMR มีราคาถูกกว่าไม้อัดทั่วไป ช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการทำเฟอร์นิเจอร์ Built-in และตกแต่งภายใน
ไม้ HMR จาก Agro Fiber นั้นจะผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN317 และ V313 ที่เรียกว่า 3 Cyclic Test หรือ V313 โดยมีขั้นตอนคือ
- แช่น้ำ ควบคุมอุณหภูมิที่ 20°C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
- แช่เย็นไว้ในตู้เย็น ควบคุมอุณหภูมิที่ -12°C ถึง -25°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
- อบในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 70°C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
โดยทดสอบทุกขั้นตอนซ้ำทั้งหมด 3 ครั้งรวม 21 วัน จากนั้นทดสอบค่า TS และ IB ให้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
- ได้รับ Certificated CARB P2 / EPA TSCA TITIE VI I by SGS ตามมาตรฐานส่งออกสหรัฐอเมริกา ในผลิตภัณฑ์ HMR เกรด E1
- ได้รับคะแนนตามมาตรฐานการรับรอง LEED ในด้านของวัสดุและการก่อสร้าง( Materials and Resources) และ คุณภาพสภาวะแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality) สูงสุด 5 คะแนน
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามติดต่อฝ่ายการตลาด โทร. 038-538-347
- Website : https://www.agrofiber.com/th/Contact
- Facebook : https://www.facebook.com/agrofiber.thailand
ขอบคุณรูปภาพจาก
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไพลินอินทีเรีย
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นดี บิลด์อัพ
- บริษัท วิชั่นสเปซ จำกัด
- บริษัท ทาด้า อินทีเรีย ดีไซน์ (ไทยแลนด์) จำกัด